จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

Program PLC พื้นฐาน (timer)


Program P L C คำสั่ง Timer


















                           วงจร P L C timer
   คำสั่ง Timer
  
   คำสั่ง timer เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เป็นคำสั่งประเภทตั้งเวลาหรือหน่วงเวลา
หลักการทำงานของ timer เมื่อหน้าสัมผัส contract ต่อวงจรให้ coil timer ทำงาน timer จะเริ่มนับเวลา
จนกระทั่งถึงค่า K ที่ตั้งไว้ และ coil timer จะ on และ contract NO จะ on เพื่อทำหน้าที่สั่งทำงานตามที่
เรานำไปใช้งาน แต่ contract NC ของ timer จะ off แทนเมื่อ coil timer on (timer จะต้องมีไฟจ่ายให้ตลอด
ถ้าหน้า contract สั่ง coil timer off จะทำให้ coil timer หยุดนับและ reset ใหม่ )


   อธิบายการทำงานวงจร P L C timer

1. เมื่อ contract X0A0 on จะต่อวงจรให้ timer T400 เริ่มนับเวลาถึง 200 ตามค่า K ของ timer T400 โดยมี
contract M400 เป็น inter lock ให้coil timer  T400 ทำงานตลอดเพื่อนับเวลา

2.coil M400 จะทำงานพร้อมกันกับ T400 แต่จะทำหน้าต่อวงจรให้ coil Y12 on  หรือสั่งให้ motor M1 หมุนและทำหน้าที่เป็น inter lock ให้ coil T400 และ coil M400 ตัวของมันเองด้วย

3.เมื่อ T400 นับเวลาถึง K200 ตามเงื่อนไข จะทำให้ contract NC ,T400 off และจะตัดวงจรให้ของ T400
และ M400 ให้หยุดการทำงานและจะส่งผลให้ Y12 หยุดหรือ off ไปด้วย กล่าาวคือ Y12 หรือ motor M1
เมื่อ start โดย X0A0 จะทำงานถึง K200 หรือ motor หมุน 20 วินาที

timer เป็นคำสั่งที่ใช้งานได้หลากหลายแล้วแต่ความต้องการของคุณว่าจะใช้มันยังไง และสุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านที่ทำงานสายช่างขอให้ประสบความสำเร็จในการงานนะครับหรือถ้าท่านผู้อ่านมีข้อแนะนำใด
ก็แสดงความคิดเห็นได้ครับ




วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

program plc (เบื้องต้น)

                               

                                PROGRAM P L C LADDER เบื้องต้น

   การทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมปัจุบันนี้ได้มีการใช้ program P L C ในการควบคุมการ
ทำงานของเครื่องจักรกันอย่างแพร่หลายทั้งนี้เพราะ program P L C มีความสามารถ control เครื่องจักรใน
งานอัตโนมัตได้เป็นอย่างดีและสามารถปรับเปลี่ยน step ขั้นตอนการทำงานได้ง่ายและรวดเร็วและ program
P L C จะเป็นปัจัยหลักในการทำงานในอุตสาหกรรมในอนาคต ดังนั้นบุคคลใดที่เกียวข้องกับสายงานช่าง
technician ทั้ง mechanic และ ช่างไฟฟ้า หรือนักศึกษาในสายช่างควรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้สามารถ
ใช้งาน program p l c ค้นหาปัญหาของเครืองจักรและสามารถแก้ไขปรับเปลี่ยน step การทำงานของเครื่องจักรโดยการแก้ PROGRAM ได้ทั้งนี้ใครที่มีทักษะทาง P L C จะได้เปรียบในการสมัครงานแข่งขันกับผู้อื่นใน
สายงานเดียวกันและเมื่อทำงานจะเรียนรู้ P L C ในโรงงานได้เร็วและโอกาศก้าวและประสบความสำเร็จก็จะมี
มากกว่าคนอื่น


        Program P L C  Ladder1


ในหัวข้อนี้จะเริ่มต้นด้วยสัญลักษ์ contract NO,contract NC ,และ Coil


                                                     รูป 1.1
  TOPICS* จากรูป 1.1
                 
                                X0     คือสัญลักษ์ contract NO
                                X1     คือสัญลักษ์ contract NC
                                Y10   คือสัญลักษ์ coil
                                           



                                                                    วงจร   1

 จากภาพวงจร 1.1 เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานจากคำสั่ง contract และ coil การทำงานของวงจรนี้
เริ่มจาก contract NO ,X131 ON คือสัญญาณ input เช่น photo sensor ,proximity ,หรือสัญญาณ input
อื่นเมื่อ X131 ON จะต่อวงจรให้ coil M209 ทำงานซึ่ง M209 เป็น coil ช่วยใน P L C และเมื่อ M209 ON
จะทำให้ contract NO  M209 ,ON และ contract M209 จะทำหน้าที่ต่อวงจร ให้ coil Y100 (Y100 คืออุปกรณ์ out put เช่น Motor , valve ตัดต่อลม และอื่นๆ) เมื่อ Y100 ทำงานก็จะทำให้ motor หรือ valve ตัดต่อลม ทำงานนั่นเอง
    T16 คือ timer ทำงานพร้อมกันกับ M209 ,T16 จะนับถึง K500  ก็จะทำให้ contract NC T16 ,OFF
และเมื่อ contract NC T16 ,Off  ก็จะทำหน้าที่ตัดวงจร M209 ให้ Off ด้วยเช่นกันและจะทำให้ Y100 ,Off
เหมือนกัน หมายความว่าวงจรนี้ motor Y100 จะหมุนถึง K500 ก็จะหยุดหมุนหรือ motor หมุนแค่ 50 วินาทีก็จะหยุดหมุนจนกว่า X131 จะ ON อีกครั้งจึงจะเริ่มวงจรใหม่
    contract NO ของ M209 คือ inter lock ของ coil M209 จะทำหน้าที่ lock ให้ coil M209 ทำงานค้างตลอดในวงจรนี้ถ้าไม่มี T16 ตัดวงจร M209 จะทำให้ coil M209  on ตลอดจะส่งผลให้ Y100 ทำงานตลอดเช่นกันและจะทำให้ตัวออุปกรณ์ทำงานตลอดหรือ motor หมุนตลอดเวลา









วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

การตั้ง Alignment Pump และ Motor

วิธีตั้ง Alignment motor และ Pump





วิธีตั้ง Alignment Motor และ Pump ด้วย Dial Gauge 0.01 mm.



Dial Gauge 0.01 mm.






การตั้ง Alignment ด้วย Dial Gauge นั้นเราต้องใช้ Dial Gauge ยึดไว้กับ Shaft หรือ เฟือง ของ Pump
ไว้เพื่อเป็นแนว Alignment หลักเพื่อปรับ ศูนย์ Alignment Motor ให้ได้ Alignment เดียวกันกับ Pump
ดังภาพด้านล่าง


เมื่อติด Dial Gauge ที่ เฟือง Pump พร้อมตั้ง Alignment








การตั้ง Alignment ต้องยึดฐานให้แน่นก่อนเพื่อเป็นฐานหลักในการปรับ Alignment Motor ให้ได้
Alignment เดียวกันกับ Pump การตั้ง Alignment จะทำการ check ค่า Dial Gauge สองแนวแกน
แนวตั้งและแนวนอน ซึ่งจะทำการตั้ง Alignment ในแนวแกนตั้งก่อน


การตั้ง Alignment ในแนวแกนตั้ง

การตั้ง Alignment ในแนวแกนตั้งเราจะ Check ค่าแนวแกนด้านบนและด้านล่างมาเปรียบเทียบกันเพื่อนำค่าที่วัดได้ของด้านบนและด้านล่างมาตั้ง Alignment โดยนำค่าแตกต่างของด้านบนและด้านล่างมาหารครึ่งและจึงทำการใส่แผ่น Shim ใต้ฐาน Motor ตามค่าที่หารได้ เช่น วัดค่าด้านบนได้ 0.120 mm. และวัดค่าด้านล่างได้ 0.10 mm.

วิธีคำนวณ

0.120 - 0.10 = 0.020 นำค่า 0.020 หาร 2 =0.010 ค่า 0.010 คือค่าความหนาของแผ่น Shim Motor

ภาพการวัดค่าด้านบนในแนวการตั้ง








วัดค่าด้านล่างในแนวแกนตั้ง








เมื่อใส่แผ่น Shim ฐาน Motor เสร็จแล้วเมื่อ Check ค่า Dial Gauge ด้าน บนด้านล่าง จะมีค่าเท่ากันและต้องอัดฐาน Motor ให้แน่นและ Check ค่า Dial Gauge ด้านล่างว่าโดนกดลงแตกต่างจากตอนที่จากตอนที่ไม่ได้อัด Bolt เท่าไหร่และให้ใส่ Shim เพิ่มอีกเพื่อให้ค่าด้านบนด้านล่างเท่ากันเมื่อทำการอัดฐาน Motor แน่นแล้ว

การตั้ง Alignment ในแนวแกนนอน

การตั้ง Alignment ในแนวแกนนอนนั้นจะทำการวัดค่า Dial Gauge ในแนวนอนทั้งสองข้างตรงกันข้ามกันและนำค่าที่วัดได้มาหาค่าความแตกต่างเหมือนกันกับการตั้ง Alignment ในแนวแกนตั้งแต่การตั้ง Alignment ในแนวแกนนอนจะไม่ใส่ Shim แต่จะขยับเลื่อนฐาน Motor ไปในแนวขวางซ้ายหรือขวาตามค่าที่วัดได้แทน

การวัดค่า Dial Gauge ในแนวนอน





การวัด Dกันข้ามial Gauge แนวนอนตรงกันข้าม
การปรับ Alignment Motor ให้ได้แนวกับ Alignment Pump

เมื่อทราบทิศทางที่จะขยับฐาน Motor จากการคำนวณดังรูปเราจึงต้องขยับไปตามลูกศรสีแดงตามค่า Dial Gauge ที่ 0.010 mm. โดยที่เมื่อขยับฐาน Motor ให้ Check ค่าที่ Dial Gauge


คำนวณ 0.10-0.120=0.020
0.02 หาร 2 =0.010

เคลื่อนฐาน Motor ไปฝั่ง Dial Gauge และสังเกตุค่าที่ Dial Gauge

เมื่อตั้ง Alignment ได้ทั้งสองแนวแกนแล้วเมื่อหมุน Dial Gauge รอบเฟือง Gear  แล้วเข็ม Dial Gauge จะไม่ขยับหรือค่าความคลาดต้องไม่เกิน 0.1 mm.