จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีใช้ Micro Meter แบบ Scale



images
  Micro Miter

    micro meter
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดระยะที่มีความละเอียด
สูง เช่นวัด เส้นผม,แผ่นกระดาษ หรือชิ้นงานเล็กๆ ที่ต้องการความละเอียดสูง
    micro meter มีการใช้งาน 2 ประเภทหลักก็คือ
1.แบบวัด dimensions นอก
2.แบบวัด dimensions ใน
    ถ้าเปรียบเทียบกับ vernier แล้ว micro meter จะวัดค่าได้ละเอียดกว่า และมีข้อได้ เปรียบที่สามารถวัดค่า dimensions
ในที่มีความโค้งที่แม่นยำกว่า

                       
     ส่วนประกอบของ micro meter
1.Anvil
   anvil เป็นจุดที่คงที่ ที่จะสัมผัสกับชิ้งานเวลาทการ
   วัดชิ้นงาน
2.Spindle
   จะทำหน้าที่ยืดเข้า ออก เพื่อให้สัมผัสกับชิ้นงาน
   เวลาวัดค่า
3.Frame
   เป็น โครงสร้างของ micro หรือพื้นที่รองรับชิ้นงาน
4.Lock Nut
   lock spindle ให้นิ่งอยู่กับที่
5. Sleeve
   เป็นแกนของ main scale หรือ scale หยาบ
6. Reading Line
    เส้น line ที่ใช้อ้างอิง เพื่ออ่านค่า scale ละเอียด
7. Thimble
    scale ละเอียดใช้ค่าละเอียดของ micro meter




              ภาพแสดงส่วนประกกอบ micro meter

imagesCA3HOWG5
imagesCA6UJCYI


 
  Pointing upภาพตัวอย่างการใช้ micro meter
     วัด dimensions นอก








imagesCAVFZRI7
  วิธีอ่าน scale micro meter1.จากภาพซ้ายมือ เราต้องเริ่มอ่านที่ main scale ก่อนนะครับ
   main scale จะมี scale บนและ scale ล่าง ดังภาพ
   1.1 main scale บน 1 scale เท่ากับ 1.00mm.
   1.2 Main scale ล่าง 1 scale เท่ากับ 0.50mm.
  ดังภาพเราจะอ่านค่าที่  main scale ได้ค่า 2.00 mm.
2.ต่อไปจะต้องมาทำการอ่าน ค่า scale ละเอียด เพื่อนำค่า
   มาบวกกับ main scale การอ่านค่าละเอียดจะใช้ reading line
   เป็นตัวบอกค่า ของ scale ละเอียด คือว่าเมื่อ reading line
   กับ scale ละเอียดใหนตรงกันให้นำ scale นั้นไปคำนวณหาค่า
   ละเอียด ในที่นี้ คือ scale ที่ 12 ให้นำ 12 x 0.01 (ค่าความ
                                                         ละเอียดของ micro meter ) จะได้เท่ากับ 0.12 mm.
                                                       3.นำค่า main scale + ค่า scale ละเอียด
                                                          2.00 +0.12 = 2.12 mm. คำตอบคือ 2.12 mm. ครับ

* scale ละเอียด 1รอบ มี 50 scale และ 1 รอบของ scale
   ละเอียด 0.5mm. หรือ 1scale ของ main scale ล่่าง

* scale ละเอียดหมุนครบ 2 รอบ จะมีค่าเท่ากับ 1.0 mm
   หรือ 1 scale ของ main scale บน
   
  

ขอขอบคุณภาพจาก www.google.co.th/




วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีใช้งาน vernier caliper scale


mitutoyo-vernier-calipers-500x500  
vernier caliper

เป็นเครื่องในการวัดละเอียดอีกอันหนึ่งที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน ทั้งนี้
vernier caliper มีทั้งที่ใช้แบบเป็น scale และแบบ digital และมี
การใช้หน่วยวัดค่าทั้งแบบ inch.(นิ้ว) และ แบบ matrix (mm.)
  แต่ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างการใช้งาน ระบบ mm. เพื่อเป็นพื้นฐาน
ก่อนนะครับ



ส่วนประกอบของ vernier caliperส่วนประกอบของจะแบ่งออก หลักดังภาพด้านขวามือ

1.Jaw for measuring outer dimensions
   จะใช้สำหรับวัด dimensions นอก
2.Jaw for measuring inner dimensions
   จะใช้สำหรับวัด dimensions ใน
3.Screw Clamp
   มีหน้าที่ Lock scale vernier ไม่ให้เคลื่อนที่
4.Vernier Scale
   เป็น scale ที่ใช้อ่านค่าละเอียด
5.Main Scale
   เป็น scale หยาบ 
6.Stem for measuring depths
   เป็นส่วนที่ใช้สำหรับวัดความลึกของชิ้นงาน
 
vfig03a
imagesSMCVG9YL
 
  ลักษณะการใช้วัดค่าชิ้นงานของ Vernier Caliper
ก.วัดค่า dimensions นอก

ข.วัดค่า dimensions ใน

ค.วัดค่าควาลึกของชิ้นงาน
วิธีอ่านค่า scale ของ Vernier Caliper
 
เวอร์เนีย-4 วิธีอ่านค่า vernier

1.ให้อ่านค่า main scale ก่อนครับ จากภาพครับให้สังเกตุเลข 0 ของ
    scale ละเอียดครับ ค่า main scale จะสิ้นสุดที่เลข 0 ของscale
    ละเอียดครับ
       ในภาพ main scale นับได้ 16 scale และ 16 scale หยาบเท่ากับ
    16 mm. ครับ 1 scale เท่ากับ 1mm. ครับ
2.ต่อมาเราจะต้องมาอ่านค่าของ scale ละเอียดเพื่อนำไปบวกกับค่า main
    scale ครับเพราะเลข 0 ของ scaleละเอียดเลย scale ที่ 16 มานิดหน่อย
    แสดงว่าค่าของ vernier ในภาพนี้ไม่ใช่ 16 mm. เปะๆ นะครับ
       ค่าละเอียดให้ check ที่ scale ละเอียดว่า scale ละเอียดใหนตรงกับ
    scale หยาบที่สุด แล้วนำ scale นั้นไปหาค่าละเอียด ในที่นี้ คือ scale ที่
    5 (เลยเลข 2 มา 1 scale = 5 scale เราจะต้อง นำ 5 ไปคูณกับค่าละเอียด
    ของ vernier คือ 0.05 mm.) จะได้ค่าดังนี้  5x0.05 = 0.25 mm. 3. นำค่า scale หยาบ บวก กับ scale ละเอียด
     16 mm. + 0.25 mm. = 16.25 mm. ครับ

* ค่า ละเอียดไม่ได้ คูณกับ 0.05 เสมอไปขึ้นอยู่กับค่าละเอียดของ vernier caliper
ที่ใช้งานครับ
ขอขอบคุณภาพ www.google.co.th/

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีอ่านค่า Dial Gauge 0.01mm.




                      DIAL GAUGE 0.01mm.






Dial gauge เป็นเครื่องมาตรฐานในการวัดด้านความยาวและมิติ
ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรมโดยนำมาวัดค่าและตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานให้ได้ตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและให้สินค้ามีความเป็นมาตรฐานระดับสากล ทั้งนี้ยังมีการใช้งานในด้านการ ติดตั้ง ,set up เครื่องจักรเครื่องจักรในการวัดค่าปรับแต่งอุปกรณ์เพื่อความแม่นยำโดยมีจุดมุ่งหมายให้เครื่องจักรมีความเที่ยงตรงสูงและแม่นยำเป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องจักรนั้น ๆ ดังนี้บุคคลที่มีการทำงานเกี่ยวเนื่องในงานด้านอุต-
สาหกรรมควรจำต้องมีทักษะการใช้ Dial Gauge ไว้บ้างดังนั้นใน
วันนี้ผมจึงนำเทคนิค ในการใช้งาน Dial Gauge มาแบ่งปันแด่ทุกท่านที่สนใจเพื่อเป็นประโยชน์และพื้นฐานในการทำงาน

ส่วนประกอบที่ควรทราบเพื่อความเข้าใจตรงกันในการอธิบายวิธีการอ่านค่า Dial Gauge







ในการใช้ Dial Gauge เพื่อวัดชิ้นงาน หรือ setting ความเที่ยงตรงของอุปกรณ์ของเครื่องจักรในที่นี้ผมจะไม่กล่าวถึง Dial Gauge ที่เป็นระบบ Digital เพราะ Dial Gauge แบบ Digital ไม่
ไม่จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีอ่านค่า Scale
Dial Gauge เพราะจะแสดงผลบนหน้าจอ Digital
เป็นตัวเลขอยู่แล้ว
ในการใช้งาน Dial Gauge แบบ scale ต้องรู้ว่า
Dial Gauge ที่คุณใช้มีค่าความละเอียดเท่าใด
Dial Gauge ที่ผมนำมาใช้ประกอบการอธิบายดัง
ภาพซ้ายมือคือ Dial Gauge ความละเอียด 0.01-
mm. วิธีการอ่าน Dial Gauge สิ่งที่ควรเข้าใจที่สุด
คือ Scale บอกค่าของ Dial Gauge Scale บอก
ค่า Dial Gauge จะมี 2 Scale คือ Scale ละเอียดและ Scale หยาบ

1.Scale ละเอียด
คือ Scale รอบนอกที่ใช้เข็มยาวบอกค่า Dial Gauge ในการวัดชิ้นงาน Scale ละเอียดของ Dial
Gauge ความละเอียด 0.01 mm. จะแบ่ง Scale ไว้ 100 Scale แต่ละ Scale จะมีค่าเท่ากับ 0.01 mm.
และถ้าเข็มยาวหมุนได้ 1 รอบหรือหมุนครบ 100 Scale จะมีค่าเท่ากับ 1mm.และวิธีสังเกตุการอ่าน
ค่า Scale คือเมื่อเข็มยาวหมุนตามเข็มนาฬิกาเมื่อทำการวัดชิ้นงานแสดงว่าค่าที่กำลังวัดนั้นจะเป็นค่าบวกหรือค่าเพิ่มขึ้น และเมื่อวัดค่าแล้วเข็มยาวหมุนทวนเข็มแสดงว่าค่าที่กำลังวัดอยู่นั้น
เป็นค่าลบ ในการวัดลักษณะนี้จะเป็นการวัดแบบนี้จะเป็นใช้ Dial Gauge เพื่อ Set Up ชิ้นงานใน
งานกลึง ,กัด ,ไส,การตั้ง Alignment เครื่องจักร
2.Scale หยาบ คือ Scale เล็กหรือ Scale ที่ใช้เข็มสั้นเพื่อบอกค่าแต่ละ Scale มีค่าเท่ากับ 1mm.
Scale หยาบจะมีการทำงานสอดคล้องกันกับ Scale ละเอียดคือเมื่อ Scale ละเอียดหมุนครบ 1รอบ
Scale หยาบจะหมุนไป 1 mm.และเมื่อค่าที่วัดเป็นบวกเข็มบอก Scale หยาบจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งจะตรงข้ามกับ Scale ละเอียด

Thickness Gauge


Thickness Gauge เป็น Dial Gauge ที่ใช้วัดความหนา
ของชิ้นงานแบบปกติถึงรูปร่างจะต่างกันแต่ลักษณะ
การอ่านค่าจะเหมือนกัน








Dial Gauge


การใช้ Dial Gauge ในลักษณะนี้เป็นการใช้เพื่อ Set Up หรือการตั้งระดับชิ้นงานซึ่งจะมีการอ่านค่าทั้งด้านลบและบวกเพื่อนำมาเปรียบเทียบและนำค่าไปคำนวณเพื่อปรับแต่งชิ้นงานของเครื่องจักรหือชิ้นงาน


และทั้งหมดที่กล่าวคือวิธีใช้ Dial Gauge และวิธีอ่านค่า Dial Gauge แบบ Scale ทั้งนี้คงช่วยให้มีประโยชน์แก่บุคคลที่เพิ่งเข้าทำงานในสายงานอุตสาหกรรมบ้างเพราะบางท่านอาจไม่ได้ผ่านการอบรมในเรื่องการใช้ Dial Gauge   ได้มีพื้นฐานเพื่อช่วยให้มีทักษะเพื่อใช้ในการทำงานของคุณครับ













วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

PLC พื้นฐาน

                                         P L C พื้นฐาน

ในหัวข้อ P L C พื้นฐานนี้จะเน้นให้รู้จักกับคำสั่งพื้นฐานแต่ละคำสั่งที่จะนำมาประกอบเป็น Program P L C ที่
สามารถใช้งานควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรให้ทำงานได้ซึ่งในหัวข้อวันนี้จะมีประโยชน์กับ
หลายๆท่านที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Program P L C เพื่อนำคำสั่งพื้นฐานนี้เป็นจุดเริ่มต้นเป็นแนวทางในการใช้งาน Program P L C ในระดับที่ซับซ้อนต่อไปได้  เริ่มต้นจากภาพด้านล่างนี้เป็นคำสั่งจำลองที่เขียนขึ้นให้ดูเป็นตัวอย่าง

                                                                                      

1.คำสั่ง LOAD ,LOAD INVERSE


LOAD เป็นคำสั่งที่ใช้เริ่มต้นในแต่ละ line โดยเชื่อมต่อกับเส้นแนวตั้งทางด้านซ้ายมือที่มีตัวเลขบอก step (0,15,17)ใช้กับหน้าสัมผัส input (X), out (Y) ,timer(T),counter (C),อุปกรณ์ relay ช่วยและ special relay (M,S) และคำสั่ง LOAD ต้องเป็นหน้าสัมผัสแบบ NO เท่านั้นแต่ถ้าเป็นหน้าสัมผัส NC เรียกว่า LOAD INVERSE ซึ่งลักษณะการใช้งานเหมือนกันกับคำสั่ง LOAD ดูตามหมายเลข 1 ในรูปด้านบน

2.AND,AND INVERSE

AND เป็นคำสั่งที่ใช้ต่อหน้าสัมผัสเชื่อมต่อกับคำสั่ง LOAD ,LOAD INVERSE ดังรูปหมายเลข 2   เป็นการต่อวงจรแบบอนุกรมเพื่อเป็นอีกเงื่อนไขในการสั่งงานใน PROGRAM ใช้กับหน้าสัมผัส INPUT    X,Y,M,S,T,C 
คำสั่ง AND ต้องเป็นหน้าสัมผัส NO เท่านั้น
คำสั่ง AND INVERSE ต้องเป็นหน้าสัมผัส NC


3.OUT

OUT เป็นคำสั่งสิ้นสุดในแต่ละ LINE หรือส่วนมากผมเรียกว่า COIL หน้าที่เมื่อคำสั่ง OUT ทำงานถ้าใน PROGRAM  จะทำให้หน้า CONTRACT NO ของคำสั่ง OUT นั้นๆทำงานด้วยแต่ถ้าคำสั่ง OUT ,OFF หรืออยู่ในสถานะไม่ทำงานแต่จะให้ CONTRACT NC ทำงานแทน    
แต่ถ้าเป็นคำสั่ง OUT ประเภท Y จะเป็นคำสั่งที่ทำให้อุปกรณ์ทำงานเช่น MOTOR ,VALVE,SERVO MOTOR

คำสั่ง OUT ใช้กับ COIL OUTPUT  Y ,RELAY M TIMER T,COUNTER C


4.AND BLOCK


AND BLOCK เป็นลักษณะเส้นตรงแนวนอนทำหน้าที่เชื่อมชุดคำสั่งเข้าด้วยกันซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบ อนุกรม


5.OR BLOCK

OR  BLOCK  เป็นลักษณะเส้นตรงในแนวตั้งทำหน้าที่เชื่อมคำสั่งเข้าด้วยกันในแนวตั้งหรือเชื่อมต่อแบบ ขนาน


6.OR,OR INVERSE

เป็นคำสั่งใช้ต่อหน้าสัมผัสแบบ ขนาน โดยต่อขนานกับหน้าสัมผัส LOAD ,LOAD INVERSE และต่อวงจรที่มีการใช้คำสั่ง AND,AND INVERSE ใช้กับหน้าสัมผัส INPUT ประเภทต่าง ๆ หรือจะเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งคำสั่งที่สามารถสั่งงาน COIL ทำงานได้ยิ่งมีการใช้ คำสั่ง OR มากก็ยิ่งทำให้เงื่อนไขมากและซับซ้อนขึ้น

OR . ใช้กับหน้าสัมผัส NO
OR INVERSE ใช้กับหน้าสัมผัส NC


7.END

คำสั่ง END คือคำสั่งสุดท้ายของ PROGRAM หรือคำสั่งสิ้นสุดของ PROGRAM


แต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานเท่านั้นยังมีคำสั่งอี่นๆอีกที่เราอาจไม่คุ้นหรือเคยเจอเมื่อเข้าไปทำงานในโรงงานจริง โดยเฉพาะ คำสั่งพิเศษต่าง และรุ่นต่างๆของ P L C จึงควรหาโอกาศศึกษาจาก PROGRAM เมื่อมีโอกาศ...........ขอขอบคุณที่ติดตามครับสวัสดีครับ




                                         















วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

PROGRAM PLC LADDER DECO

program P L C ladder
    program P L C ladder ( DECO)
คำสั่ง deco คือการทำงานแบบ step ต่อไปโดยการ MOVE ค่าให้ตัวเก็บข้อมูลเพื่อสั่งให้ step ต่อไปทำงานต่อไปจนสิ้นสุดถึง step สุดท้ายก็จะ MOVE ค่า 0 ให้อุปกรณ์เก็บข้อมูลเพื่อจบการทำงานและรอการทำงานใหม่อีกครั้ง

    สัญลักณ์ [ DECO C2 M1210 K5]

C2          คือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สั่งให้ CONNECT " ON "
M1210   คือ address เริ่มต้นของ  connect ที่จะ "ON''ในสถานะที่ C2 มีค่าเท่ากับ ''0'' M1210 จะ ''ON'' แต่เมื่อค่าของมีการ MOVE ค่าให้ C2 ก็จะนำค่าที่ MOVE มาบวกกับ M1210 ได้ค่าเพิ่มเท่า
ใดจะทำให้ address นั้น '' ON''

    ตัวอย่าง
เมื่อมีคำสั่ง move ค่า 3ให้ M1210 จะต้องบวก 3 ให้กับ M1210 จะได้ M1213 จะส่งผลให้ M1213 ''ON''

    ตัวอย่าง program step ''DECO''



1.เมื่อ contract ''NO'' M200 ''on''จะทำให้ contract M610 ''on''
2.เมื่อ contract ''NO'' m610 ''on'' และ contract "NO " x0f0 ''on'' คำสั่ง move จะ move ค่า 1
   ให้ C4 จะทำให้ contract ''NO'' m611 ''on'' เมื่อ m611 ''on'' จะทำให้ coil ''Y100" ทำงาน
   ด้วย
3.เมื่อ contract ''NO'' m611 ''on'' และ contract ''NC" x0d1 ''on'' คำสั่ง move จะ move ค่า 2
   ให้ C4 และทำให้ contract ''NO" m612 ''on'' และจะสั่งให้ coil ''Y101"ทำงานเช่นกัน

4.เมื่อ contract ''NO'' m612 ''on'' และ contract ''NC" x100 ''on'' คำสั่ง move จะ move ค่า 0
   ให้ C4 และจบการทำงานของ step เพื่อรอการเริ่มทำงานของ step อีกครั้ง

วงจรนี้เป็นวงจรที่สร้างขึ้นเพื่อให้เข้าใจง่ายแต่ในวงจรใช้งานกับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
อาจมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่านี้แล้วแต่เครื่องจักรแต่ละรุ่น






วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

PROGRAM PLC พื้นฐาน (Data Register)

อุปกรณ์เก็บข้อมูลตัวเลข (data register )

 อุปกรณ์เก็บข้อมูลจะใช้ D ตามด้วยลำดับของอุปกรณ์เช่น D001,D002,D100 เป็นต้น อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบตัวเลขเป็นอุปกรณ์เก็บ data แบบตัวเลขหรือข้อมูลในรูปแบบ 16 บิต หรื 32 บิตสามารถ
ใช้เป็นเงื่อนไขตัวเลขของ timer , counter,หรือใช้เป็นค่าเปรียบเทียบเพื่อสั่งงานอุปกรณ์อื่นหรือ
relay ได้
  อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบ่งได้ 2 ชนิด
1.อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบทั่วไป (general use registers )
2.อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบจำค่า (latch data registers )


ลักษณะการใช้งานอุปกรณ์เก็บข้อมูล

1.D1734 จะทำงานเมื่อมีค่าเท่ากับ K2011 เมื่อ D1734 มีค่าเท่ากับ K2011 จะทำให้ coil M709 on

2.D1735 จะทำงานเมื่อมีค่าเท่ากับ K2012 เมื่อ D1735 มีค่าเท่ากับ K2012 จะทำให้ coil M710 on
3.D1736 จะทำงานเมื่อมีค่าเท่ากับ K2013 เมื่อ D1736 มีค่าเท่ากับ K2013 จะทำให้ coil M711 on
4.M711 on จะทำให้คำสั่ง MOVE ทำงานและจะทให้ MOVE 0 ให้กับ D710 mทำให้ D710 มีค่าเท่า
   กับ 0


และนี่คือลักษณะการใช้งานอุปกรณ์เก็บข้อมูล D ในเบื้องต้นควรต้องมีการศึกษาจาก Manual
ของ P L C แต่ละรุ่น และ program P L C ในการทำงานเพื่อเรียนรู้ถึงการทำงานที่หลากหลายของ P L C



วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

program plc พื้นฐาน คำสั่ง MOV

Program P L C ladder คำสั่ง [ MOVE ]

    คำสั่ง move เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูล data  ไปจัดเก็บในจุดที่ต้องการส่วนมากจะย้ายไปเก็บที่ปลายทาง D เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการสั่งงาน คำสั่ง move จะย้ายข้อมูลตัวเลขฐานต่างไปเก็บที่อุปกรณ์เก็บข้อมูลอาจจะใช้ย้ายค่า K ไป D หรือย้ายค่า D ไป D ก็ได้


ลักษณะการใช้งานคำสั่ง MOVE

  1.เมื่อ contract NO X0B0 on จะทำให้คำสั่ง move ค่า 100 จาก K ไปเก็บไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูล
     D1
  2.เมื่อ D1 มีค่าเท่ากับ 100 จะทำให้ D1 on ตามเงื่อน D1= 100 และจะต่อวงจรให้ coil Y0 ทำงาน
     ค้างตลอดจนกว่าจะมีคำสั่ง reset D1 หรือมีคคำสั่ง move ค่า 0 ให้ D1
  3.เมื่อ contract X0C0 on จะทำให้คำสั่ง MOVE ค่า 0 ไปให้ D1 ทำให้ D1 มีค่าเท่ากับ 0 และทำให้
     D1 off และ Y0 หยุดการทำงาน
  
         อย่างไรก็ดีวงจรที่ยกตัวอย่างเป็นแค่คำสั่ง move แบบพื้นฐานเท่านั้นยังมีคำสั่ง move อีกที่
 ทำงาน move ค่าเหมือนกันแต่มีลักษฌะการย้ายข้อมูลที่แตกต่างเราจะนำมาเสนอในบทความต่อไป