จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีอ่านค่า Dial Gauge 0.01mm.




                      DIAL GAUGE 0.01mm.






Dial gauge เป็นเครื่องมาตรฐานในการวัดด้านความยาวและมิติ
ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรมโดยนำมาวัดค่าและตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานให้ได้ตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและให้สินค้ามีความเป็นมาตรฐานระดับสากล ทั้งนี้ยังมีการใช้งานในด้านการ ติดตั้ง ,set up เครื่องจักรเครื่องจักรในการวัดค่าปรับแต่งอุปกรณ์เพื่อความแม่นยำโดยมีจุดมุ่งหมายให้เครื่องจักรมีความเที่ยงตรงสูงและแม่นยำเป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องจักรนั้น ๆ ดังนี้บุคคลที่มีการทำงานเกี่ยวเนื่องในงานด้านอุต-
สาหกรรมควรจำต้องมีทักษะการใช้ Dial Gauge ไว้บ้างดังนั้นใน
วันนี้ผมจึงนำเทคนิค ในการใช้งาน Dial Gauge มาแบ่งปันแด่ทุกท่านที่สนใจเพื่อเป็นประโยชน์และพื้นฐานในการทำงาน

ส่วนประกอบที่ควรทราบเพื่อความเข้าใจตรงกันในการอธิบายวิธีการอ่านค่า Dial Gauge







ในการใช้ Dial Gauge เพื่อวัดชิ้นงาน หรือ setting ความเที่ยงตรงของอุปกรณ์ของเครื่องจักรในที่นี้ผมจะไม่กล่าวถึง Dial Gauge ที่เป็นระบบ Digital เพราะ Dial Gauge แบบ Digital ไม่
ไม่จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีอ่านค่า Scale
Dial Gauge เพราะจะแสดงผลบนหน้าจอ Digital
เป็นตัวเลขอยู่แล้ว
ในการใช้งาน Dial Gauge แบบ scale ต้องรู้ว่า
Dial Gauge ที่คุณใช้มีค่าความละเอียดเท่าใด
Dial Gauge ที่ผมนำมาใช้ประกอบการอธิบายดัง
ภาพซ้ายมือคือ Dial Gauge ความละเอียด 0.01-
mm. วิธีการอ่าน Dial Gauge สิ่งที่ควรเข้าใจที่สุด
คือ Scale บอกค่าของ Dial Gauge Scale บอก
ค่า Dial Gauge จะมี 2 Scale คือ Scale ละเอียดและ Scale หยาบ

1.Scale ละเอียด
คือ Scale รอบนอกที่ใช้เข็มยาวบอกค่า Dial Gauge ในการวัดชิ้นงาน Scale ละเอียดของ Dial
Gauge ความละเอียด 0.01 mm. จะแบ่ง Scale ไว้ 100 Scale แต่ละ Scale จะมีค่าเท่ากับ 0.01 mm.
และถ้าเข็มยาวหมุนได้ 1 รอบหรือหมุนครบ 100 Scale จะมีค่าเท่ากับ 1mm.และวิธีสังเกตุการอ่าน
ค่า Scale คือเมื่อเข็มยาวหมุนตามเข็มนาฬิกาเมื่อทำการวัดชิ้นงานแสดงว่าค่าที่กำลังวัดนั้นจะเป็นค่าบวกหรือค่าเพิ่มขึ้น และเมื่อวัดค่าแล้วเข็มยาวหมุนทวนเข็มแสดงว่าค่าที่กำลังวัดอยู่นั้น
เป็นค่าลบ ในการวัดลักษณะนี้จะเป็นการวัดแบบนี้จะเป็นใช้ Dial Gauge เพื่อ Set Up ชิ้นงานใน
งานกลึง ,กัด ,ไส,การตั้ง Alignment เครื่องจักร
2.Scale หยาบ คือ Scale เล็กหรือ Scale ที่ใช้เข็มสั้นเพื่อบอกค่าแต่ละ Scale มีค่าเท่ากับ 1mm.
Scale หยาบจะมีการทำงานสอดคล้องกันกับ Scale ละเอียดคือเมื่อ Scale ละเอียดหมุนครบ 1รอบ
Scale หยาบจะหมุนไป 1 mm.และเมื่อค่าที่วัดเป็นบวกเข็มบอก Scale หยาบจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งจะตรงข้ามกับ Scale ละเอียด

Thickness Gauge


Thickness Gauge เป็น Dial Gauge ที่ใช้วัดความหนา
ของชิ้นงานแบบปกติถึงรูปร่างจะต่างกันแต่ลักษณะ
การอ่านค่าจะเหมือนกัน








Dial Gauge


การใช้ Dial Gauge ในลักษณะนี้เป็นการใช้เพื่อ Set Up หรือการตั้งระดับชิ้นงานซึ่งจะมีการอ่านค่าทั้งด้านลบและบวกเพื่อนำมาเปรียบเทียบและนำค่าไปคำนวณเพื่อปรับแต่งชิ้นงานของเครื่องจักรหือชิ้นงาน


และทั้งหมดที่กล่าวคือวิธีใช้ Dial Gauge และวิธีอ่านค่า Dial Gauge แบบ Scale ทั้งนี้คงช่วยให้มีประโยชน์แก่บุคคลที่เพิ่งเข้าทำงานในสายงานอุตสาหกรรมบ้างเพราะบางท่านอาจไม่ได้ผ่านการอบรมในเรื่องการใช้ Dial Gauge   ได้มีพื้นฐานเพื่อช่วยให้มีทักษะเพื่อใช้ในการทำงานของคุณครับ













วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

PLC พื้นฐาน

                                         P L C พื้นฐาน

ในหัวข้อ P L C พื้นฐานนี้จะเน้นให้รู้จักกับคำสั่งพื้นฐานแต่ละคำสั่งที่จะนำมาประกอบเป็น Program P L C ที่
สามารถใช้งานควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรให้ทำงานได้ซึ่งในหัวข้อวันนี้จะมีประโยชน์กับ
หลายๆท่านที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Program P L C เพื่อนำคำสั่งพื้นฐานนี้เป็นจุดเริ่มต้นเป็นแนวทางในการใช้งาน Program P L C ในระดับที่ซับซ้อนต่อไปได้  เริ่มต้นจากภาพด้านล่างนี้เป็นคำสั่งจำลองที่เขียนขึ้นให้ดูเป็นตัวอย่าง

                                                                                      

1.คำสั่ง LOAD ,LOAD INVERSE


LOAD เป็นคำสั่งที่ใช้เริ่มต้นในแต่ละ line โดยเชื่อมต่อกับเส้นแนวตั้งทางด้านซ้ายมือที่มีตัวเลขบอก step (0,15,17)ใช้กับหน้าสัมผัส input (X), out (Y) ,timer(T),counter (C),อุปกรณ์ relay ช่วยและ special relay (M,S) และคำสั่ง LOAD ต้องเป็นหน้าสัมผัสแบบ NO เท่านั้นแต่ถ้าเป็นหน้าสัมผัส NC เรียกว่า LOAD INVERSE ซึ่งลักษณะการใช้งานเหมือนกันกับคำสั่ง LOAD ดูตามหมายเลข 1 ในรูปด้านบน

2.AND,AND INVERSE

AND เป็นคำสั่งที่ใช้ต่อหน้าสัมผัสเชื่อมต่อกับคำสั่ง LOAD ,LOAD INVERSE ดังรูปหมายเลข 2   เป็นการต่อวงจรแบบอนุกรมเพื่อเป็นอีกเงื่อนไขในการสั่งงานใน PROGRAM ใช้กับหน้าสัมผัส INPUT    X,Y,M,S,T,C 
คำสั่ง AND ต้องเป็นหน้าสัมผัส NO เท่านั้น
คำสั่ง AND INVERSE ต้องเป็นหน้าสัมผัส NC


3.OUT

OUT เป็นคำสั่งสิ้นสุดในแต่ละ LINE หรือส่วนมากผมเรียกว่า COIL หน้าที่เมื่อคำสั่ง OUT ทำงานถ้าใน PROGRAM  จะทำให้หน้า CONTRACT NO ของคำสั่ง OUT นั้นๆทำงานด้วยแต่ถ้าคำสั่ง OUT ,OFF หรืออยู่ในสถานะไม่ทำงานแต่จะให้ CONTRACT NC ทำงานแทน    
แต่ถ้าเป็นคำสั่ง OUT ประเภท Y จะเป็นคำสั่งที่ทำให้อุปกรณ์ทำงานเช่น MOTOR ,VALVE,SERVO MOTOR

คำสั่ง OUT ใช้กับ COIL OUTPUT  Y ,RELAY M TIMER T,COUNTER C


4.AND BLOCK


AND BLOCK เป็นลักษณะเส้นตรงแนวนอนทำหน้าที่เชื่อมชุดคำสั่งเข้าด้วยกันซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบ อนุกรม


5.OR BLOCK

OR  BLOCK  เป็นลักษณะเส้นตรงในแนวตั้งทำหน้าที่เชื่อมคำสั่งเข้าด้วยกันในแนวตั้งหรือเชื่อมต่อแบบ ขนาน


6.OR,OR INVERSE

เป็นคำสั่งใช้ต่อหน้าสัมผัสแบบ ขนาน โดยต่อขนานกับหน้าสัมผัส LOAD ,LOAD INVERSE และต่อวงจรที่มีการใช้คำสั่ง AND,AND INVERSE ใช้กับหน้าสัมผัส INPUT ประเภทต่าง ๆ หรือจะเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งคำสั่งที่สามารถสั่งงาน COIL ทำงานได้ยิ่งมีการใช้ คำสั่ง OR มากก็ยิ่งทำให้เงื่อนไขมากและซับซ้อนขึ้น

OR . ใช้กับหน้าสัมผัส NO
OR INVERSE ใช้กับหน้าสัมผัส NC


7.END

คำสั่ง END คือคำสั่งสุดท้ายของ PROGRAM หรือคำสั่งสิ้นสุดของ PROGRAM


แต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานเท่านั้นยังมีคำสั่งอี่นๆอีกที่เราอาจไม่คุ้นหรือเคยเจอเมื่อเข้าไปทำงานในโรงงานจริง โดยเฉพาะ คำสั่งพิเศษต่าง และรุ่นต่างๆของ P L C จึงควรหาโอกาศศึกษาจาก PROGRAM เมื่อมีโอกาศ...........ขอขอบคุณที่ติดตามครับสวัสดีครับ