จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีอ่านค่า Dial Gauge 0.01mm.




                      DIAL GAUGE 0.01mm.






Dial gauge เป็นเครื่องมาตรฐานในการวัดด้านความยาวและมิติ
ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรมโดยนำมาวัดค่าและตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานให้ได้ตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและให้สินค้ามีความเป็นมาตรฐานระดับสากล ทั้งนี้ยังมีการใช้งานในด้านการ ติดตั้ง ,set up เครื่องจักรเครื่องจักรในการวัดค่าปรับแต่งอุปกรณ์เพื่อความแม่นยำโดยมีจุดมุ่งหมายให้เครื่องจักรมีความเที่ยงตรงสูงและแม่นยำเป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องจักรนั้น ๆ ดังนี้บุคคลที่มีการทำงานเกี่ยวเนื่องในงานด้านอุต-
สาหกรรมควรจำต้องมีทักษะการใช้ Dial Gauge ไว้บ้างดังนั้นใน
วันนี้ผมจึงนำเทคนิค ในการใช้งาน Dial Gauge มาแบ่งปันแด่ทุกท่านที่สนใจเพื่อเป็นประโยชน์และพื้นฐานในการทำงาน

ส่วนประกอบที่ควรทราบเพื่อความเข้าใจตรงกันในการอธิบายวิธีการอ่านค่า Dial Gauge







ในการใช้ Dial Gauge เพื่อวัดชิ้นงาน หรือ setting ความเที่ยงตรงของอุปกรณ์ของเครื่องจักรในที่นี้ผมจะไม่กล่าวถึง Dial Gauge ที่เป็นระบบ Digital เพราะ Dial Gauge แบบ Digital ไม่
ไม่จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีอ่านค่า Scale
Dial Gauge เพราะจะแสดงผลบนหน้าจอ Digital
เป็นตัวเลขอยู่แล้ว
ในการใช้งาน Dial Gauge แบบ scale ต้องรู้ว่า
Dial Gauge ที่คุณใช้มีค่าความละเอียดเท่าใด
Dial Gauge ที่ผมนำมาใช้ประกอบการอธิบายดัง
ภาพซ้ายมือคือ Dial Gauge ความละเอียด 0.01-
mm. วิธีการอ่าน Dial Gauge สิ่งที่ควรเข้าใจที่สุด
คือ Scale บอกค่าของ Dial Gauge Scale บอก
ค่า Dial Gauge จะมี 2 Scale คือ Scale ละเอียดและ Scale หยาบ

1.Scale ละเอียด
คือ Scale รอบนอกที่ใช้เข็มยาวบอกค่า Dial Gauge ในการวัดชิ้นงาน Scale ละเอียดของ Dial
Gauge ความละเอียด 0.01 mm. จะแบ่ง Scale ไว้ 100 Scale แต่ละ Scale จะมีค่าเท่ากับ 0.01 mm.
และถ้าเข็มยาวหมุนได้ 1 รอบหรือหมุนครบ 100 Scale จะมีค่าเท่ากับ 1mm.และวิธีสังเกตุการอ่าน
ค่า Scale คือเมื่อเข็มยาวหมุนตามเข็มนาฬิกาเมื่อทำการวัดชิ้นงานแสดงว่าค่าที่กำลังวัดนั้นจะเป็นค่าบวกหรือค่าเพิ่มขึ้น และเมื่อวัดค่าแล้วเข็มยาวหมุนทวนเข็มแสดงว่าค่าที่กำลังวัดอยู่นั้น
เป็นค่าลบ ในการวัดลักษณะนี้จะเป็นการวัดแบบนี้จะเป็นใช้ Dial Gauge เพื่อ Set Up ชิ้นงานใน
งานกลึง ,กัด ,ไส,การตั้ง Alignment เครื่องจักร
2.Scale หยาบ คือ Scale เล็กหรือ Scale ที่ใช้เข็มสั้นเพื่อบอกค่าแต่ละ Scale มีค่าเท่ากับ 1mm.
Scale หยาบจะมีการทำงานสอดคล้องกันกับ Scale ละเอียดคือเมื่อ Scale ละเอียดหมุนครบ 1รอบ
Scale หยาบจะหมุนไป 1 mm.และเมื่อค่าที่วัดเป็นบวกเข็มบอก Scale หยาบจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งจะตรงข้ามกับ Scale ละเอียด

Thickness Gauge


Thickness Gauge เป็น Dial Gauge ที่ใช้วัดความหนา
ของชิ้นงานแบบปกติถึงรูปร่างจะต่างกันแต่ลักษณะ
การอ่านค่าจะเหมือนกัน








Dial Gauge


การใช้ Dial Gauge ในลักษณะนี้เป็นการใช้เพื่อ Set Up หรือการตั้งระดับชิ้นงานซึ่งจะมีการอ่านค่าทั้งด้านลบและบวกเพื่อนำมาเปรียบเทียบและนำค่าไปคำนวณเพื่อปรับแต่งชิ้นงานของเครื่องจักรหือชิ้นงาน


และทั้งหมดที่กล่าวคือวิธีใช้ Dial Gauge และวิธีอ่านค่า Dial Gauge แบบ Scale ทั้งนี้คงช่วยให้มีประโยชน์แก่บุคคลที่เพิ่งเข้าทำงานในสายงานอุตสาหกรรมบ้างเพราะบางท่านอาจไม่ได้ผ่านการอบรมในเรื่องการใช้ Dial Gauge   ได้มีพื้นฐานเพื่อช่วยให้มีทักษะเพื่อใช้ในการทำงานของคุณครับ













วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

PLC พื้นฐาน

                                         P L C พื้นฐาน

ในหัวข้อ P L C พื้นฐานนี้จะเน้นให้รู้จักกับคำสั่งพื้นฐานแต่ละคำสั่งที่จะนำมาประกอบเป็น Program P L C ที่
สามารถใช้งานควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรให้ทำงานได้ซึ่งในหัวข้อวันนี้จะมีประโยชน์กับ
หลายๆท่านที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Program P L C เพื่อนำคำสั่งพื้นฐานนี้เป็นจุดเริ่มต้นเป็นแนวทางในการใช้งาน Program P L C ในระดับที่ซับซ้อนต่อไปได้  เริ่มต้นจากภาพด้านล่างนี้เป็นคำสั่งจำลองที่เขียนขึ้นให้ดูเป็นตัวอย่าง

                                                                                      

1.คำสั่ง LOAD ,LOAD INVERSE


LOAD เป็นคำสั่งที่ใช้เริ่มต้นในแต่ละ line โดยเชื่อมต่อกับเส้นแนวตั้งทางด้านซ้ายมือที่มีตัวเลขบอก step (0,15,17)ใช้กับหน้าสัมผัส input (X), out (Y) ,timer(T),counter (C),อุปกรณ์ relay ช่วยและ special relay (M,S) และคำสั่ง LOAD ต้องเป็นหน้าสัมผัสแบบ NO เท่านั้นแต่ถ้าเป็นหน้าสัมผัส NC เรียกว่า LOAD INVERSE ซึ่งลักษณะการใช้งานเหมือนกันกับคำสั่ง LOAD ดูตามหมายเลข 1 ในรูปด้านบน

2.AND,AND INVERSE

AND เป็นคำสั่งที่ใช้ต่อหน้าสัมผัสเชื่อมต่อกับคำสั่ง LOAD ,LOAD INVERSE ดังรูปหมายเลข 2   เป็นการต่อวงจรแบบอนุกรมเพื่อเป็นอีกเงื่อนไขในการสั่งงานใน PROGRAM ใช้กับหน้าสัมผัส INPUT    X,Y,M,S,T,C 
คำสั่ง AND ต้องเป็นหน้าสัมผัส NO เท่านั้น
คำสั่ง AND INVERSE ต้องเป็นหน้าสัมผัส NC


3.OUT

OUT เป็นคำสั่งสิ้นสุดในแต่ละ LINE หรือส่วนมากผมเรียกว่า COIL หน้าที่เมื่อคำสั่ง OUT ทำงานถ้าใน PROGRAM  จะทำให้หน้า CONTRACT NO ของคำสั่ง OUT นั้นๆทำงานด้วยแต่ถ้าคำสั่ง OUT ,OFF หรืออยู่ในสถานะไม่ทำงานแต่จะให้ CONTRACT NC ทำงานแทน    
แต่ถ้าเป็นคำสั่ง OUT ประเภท Y จะเป็นคำสั่งที่ทำให้อุปกรณ์ทำงานเช่น MOTOR ,VALVE,SERVO MOTOR

คำสั่ง OUT ใช้กับ COIL OUTPUT  Y ,RELAY M TIMER T,COUNTER C


4.AND BLOCK


AND BLOCK เป็นลักษณะเส้นตรงแนวนอนทำหน้าที่เชื่อมชุดคำสั่งเข้าด้วยกันซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบ อนุกรม


5.OR BLOCK

OR  BLOCK  เป็นลักษณะเส้นตรงในแนวตั้งทำหน้าที่เชื่อมคำสั่งเข้าด้วยกันในแนวตั้งหรือเชื่อมต่อแบบ ขนาน


6.OR,OR INVERSE

เป็นคำสั่งใช้ต่อหน้าสัมผัสแบบ ขนาน โดยต่อขนานกับหน้าสัมผัส LOAD ,LOAD INVERSE และต่อวงจรที่มีการใช้คำสั่ง AND,AND INVERSE ใช้กับหน้าสัมผัส INPUT ประเภทต่าง ๆ หรือจะเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งคำสั่งที่สามารถสั่งงาน COIL ทำงานได้ยิ่งมีการใช้ คำสั่ง OR มากก็ยิ่งทำให้เงื่อนไขมากและซับซ้อนขึ้น

OR . ใช้กับหน้าสัมผัส NO
OR INVERSE ใช้กับหน้าสัมผัส NC


7.END

คำสั่ง END คือคำสั่งสุดท้ายของ PROGRAM หรือคำสั่งสิ้นสุดของ PROGRAM


แต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงคำสั่งพื้นฐานเท่านั้นยังมีคำสั่งอี่นๆอีกที่เราอาจไม่คุ้นหรือเคยเจอเมื่อเข้าไปทำงานในโรงงานจริง โดยเฉพาะ คำสั่งพิเศษต่าง และรุ่นต่างๆของ P L C จึงควรหาโอกาศศึกษาจาก PROGRAM เมื่อมีโอกาศ...........ขอขอบคุณที่ติดตามครับสวัสดีครับ




                                         















วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

PROGRAM PLC LADDER DECO

program P L C ladder
    program P L C ladder ( DECO)
คำสั่ง deco คือการทำงานแบบ step ต่อไปโดยการ MOVE ค่าให้ตัวเก็บข้อมูลเพื่อสั่งให้ step ต่อไปทำงานต่อไปจนสิ้นสุดถึง step สุดท้ายก็จะ MOVE ค่า 0 ให้อุปกรณ์เก็บข้อมูลเพื่อจบการทำงานและรอการทำงานใหม่อีกครั้ง

    สัญลักณ์ [ DECO C2 M1210 K5]

C2          คือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สั่งให้ CONNECT " ON "
M1210   คือ address เริ่มต้นของ  connect ที่จะ "ON''ในสถานะที่ C2 มีค่าเท่ากับ ''0'' M1210 จะ ''ON'' แต่เมื่อค่าของมีการ MOVE ค่าให้ C2 ก็จะนำค่าที่ MOVE มาบวกกับ M1210 ได้ค่าเพิ่มเท่า
ใดจะทำให้ address นั้น '' ON''

    ตัวอย่าง
เมื่อมีคำสั่ง move ค่า 3ให้ M1210 จะต้องบวก 3 ให้กับ M1210 จะได้ M1213 จะส่งผลให้ M1213 ''ON''

    ตัวอย่าง program step ''DECO''



1.เมื่อ contract ''NO'' M200 ''on''จะทำให้ contract M610 ''on''
2.เมื่อ contract ''NO'' m610 ''on'' และ contract "NO " x0f0 ''on'' คำสั่ง move จะ move ค่า 1
   ให้ C4 จะทำให้ contract ''NO'' m611 ''on'' เมื่อ m611 ''on'' จะทำให้ coil ''Y100" ทำงาน
   ด้วย
3.เมื่อ contract ''NO'' m611 ''on'' และ contract ''NC" x0d1 ''on'' คำสั่ง move จะ move ค่า 2
   ให้ C4 และทำให้ contract ''NO" m612 ''on'' และจะสั่งให้ coil ''Y101"ทำงานเช่นกัน

4.เมื่อ contract ''NO'' m612 ''on'' และ contract ''NC" x100 ''on'' คำสั่ง move จะ move ค่า 0
   ให้ C4 และจบการทำงานของ step เพื่อรอการเริ่มทำงานของ step อีกครั้ง

วงจรนี้เป็นวงจรที่สร้างขึ้นเพื่อให้เข้าใจง่ายแต่ในวงจรใช้งานกับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
อาจมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่านี้แล้วแต่เครื่องจักรแต่ละรุ่น






วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

PROGRAM PLC พื้นฐาน (Data Register)

อุปกรณ์เก็บข้อมูลตัวเลข (data register )

 อุปกรณ์เก็บข้อมูลจะใช้ D ตามด้วยลำดับของอุปกรณ์เช่น D001,D002,D100 เป็นต้น อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบตัวเลขเป็นอุปกรณ์เก็บ data แบบตัวเลขหรือข้อมูลในรูปแบบ 16 บิต หรื 32 บิตสามารถ
ใช้เป็นเงื่อนไขตัวเลขของ timer , counter,หรือใช้เป็นค่าเปรียบเทียบเพื่อสั่งงานอุปกรณ์อื่นหรือ
relay ได้
  อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบ่งได้ 2 ชนิด
1.อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบทั่วไป (general use registers )
2.อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบจำค่า (latch data registers )


ลักษณะการใช้งานอุปกรณ์เก็บข้อมูล

1.D1734 จะทำงานเมื่อมีค่าเท่ากับ K2011 เมื่อ D1734 มีค่าเท่ากับ K2011 จะทำให้ coil M709 on

2.D1735 จะทำงานเมื่อมีค่าเท่ากับ K2012 เมื่อ D1735 มีค่าเท่ากับ K2012 จะทำให้ coil M710 on
3.D1736 จะทำงานเมื่อมีค่าเท่ากับ K2013 เมื่อ D1736 มีค่าเท่ากับ K2013 จะทำให้ coil M711 on
4.M711 on จะทำให้คำสั่ง MOVE ทำงานและจะทให้ MOVE 0 ให้กับ D710 mทำให้ D710 มีค่าเท่า
   กับ 0


และนี่คือลักษณะการใช้งานอุปกรณ์เก็บข้อมูล D ในเบื้องต้นควรต้องมีการศึกษาจาก Manual
ของ P L C แต่ละรุ่น และ program P L C ในการทำงานเพื่อเรียนรู้ถึงการทำงานที่หลากหลายของ P L C



วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

program plc พื้นฐาน คำสั่ง MOV

Program P L C ladder คำสั่ง [ MOVE ]

    คำสั่ง move เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูล data  ไปจัดเก็บในจุดที่ต้องการส่วนมากจะย้ายไปเก็บที่ปลายทาง D เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการสั่งงาน คำสั่ง move จะย้ายข้อมูลตัวเลขฐานต่างไปเก็บที่อุปกรณ์เก็บข้อมูลอาจจะใช้ย้ายค่า K ไป D หรือย้ายค่า D ไป D ก็ได้


ลักษณะการใช้งานคำสั่ง MOVE

  1.เมื่อ contract NO X0B0 on จะทำให้คำสั่ง move ค่า 100 จาก K ไปเก็บไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูล
     D1
  2.เมื่อ D1 มีค่าเท่ากับ 100 จะทำให้ D1 on ตามเงื่อน D1= 100 และจะต่อวงจรให้ coil Y0 ทำงาน
     ค้างตลอดจนกว่าจะมีคำสั่ง reset D1 หรือมีคคำสั่ง move ค่า 0 ให้ D1
  3.เมื่อ contract X0C0 on จะทำให้คำสั่ง MOVE ค่า 0 ไปให้ D1 ทำให้ D1 มีค่าเท่ากับ 0 และทำให้
     D1 off และ Y0 หยุดการทำงาน
  
         อย่างไรก็ดีวงจรที่ยกตัวอย่างเป็นแค่คำสั่ง move แบบพื้นฐานเท่านั้นยังมีคำสั่ง move อีกที่
 ทำงาน move ค่าเหมือนกันแต่มีลักษฌะการย้ายข้อมูลที่แตกต่างเราจะนำมาเสนอในบทความต่อไป
                  


 





วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

program PLC พื้นฐาน (set and reset)

program P L C ladder


      คำสั่ง Set และคำสั่ง Reset
คำสั่ง set and reset (SET,RESET) เป็นคำสั่งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ โดยคำสั่ง set จะทำงานเมื่อเมื่อมี
contract สั่งจ่ายไฟให้คำสั่ง set ให้ set ตัวอุปกรณ์ที่ควบคุม ON ค้างตลอดถึงแม้ว่า contract ที่จ่ายไฟจะ OFF ไปแล้วก็ตามและตัวอุปกรณ์จะ OFF ได้ก็ต่อเมื่อคำสั่ง reset สั่ง reset ให้คำสั่ง set OFF เท่านั้น
  คำสั่ง set จะใช้สั่งหน้าสัมผัสประเภท out put (Y,M,S) และคำสั่ง Reset ใช้ Reset out put ให้ OFF หรือเป็น 0 (Y,M,S,D)



    ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง SET,RESET

1.(708) เมื่อ contract X0B0 on จะทำให้คำสั่ง set สั่งให้ M1010 ทำงานและจะทำให้ M1010 on ตลอด
   ถึงแม้ว่า X0B0 จะ off ไปแล้วก็ตาม
2.(710) contract M1010 จะ on และสั่งให้ timer T1000 เริ่มนับเวลาจนถึง K100 และจะสั่งให้ out put
   Y11D ทำงานไปพร้อมกัน
3.เมื่อ timer T1000 นับเวลาถึง K1000 จะทำให้ contract NO T1000 on และสั่งให้คำสั่ง reset ,reset
   M1010 ให้ off และจะทำให้ T1000 และY11D off

คำสั่ง set และ reset สามารถใช้ได้หลายวงจร เช่น set,reset timer หรือ set,reset คำสั่ง counter แล้วแต
ผู้ออกแบบวงจรจะนำไปใช้งาน

*สนใจติดต่อโฆษณาราคาถูกติดต่อ 081-1533701
  (destartling@gmail.com)













วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

program plc พื้นฐาน ( counter)

   program p l c ladder

        
    คำสั่ง counter





คำสั่ง COUNTER

          คำสั่ง counter เป็นคำสั่งประเภทนับจำนวนโดยใช้ การทำงานของอุปกรณ์ input เป็นตัวสั่งนับจำนวนเมื่ออุปกรณื input

ทำงาน 1 ครั้ง counter ก็จะนับจำนวนเท่ากับ 1 counter จะทำงานเมื่อนับครบจำนวนที่ตั้งไว้ตามค่า K และเมื่อทำงานแล้วจะต้องมี

คำสั่ง reset เพื่อ set ค่า counter ให้เป็น 0 ถ้าไม่คำสั่ง reset จะทำให้คำสั่ง counter ทำงานค้างตลอด

         อธิบายวงจรตามรูปด้านบน

1.เมื่อ contract NO X73 on ครบ 5 ครั้งจะทำให้ counter C1 On ตามเงื่อนไขค่า K ที่กำหนดไว้
2.เมื่อ coil counter C1 on จะทำให้ contract NO C1 on ด้วยและจะสั่งให้ coil Y0 ทำงาน
3.เมื่อ coil counter C1 on จะทำให้ contract NC C1 off ด้วยและจะสั่งให้ coil Y1 หยุดทำงาน ทำงาน
4.เมื่อ contract X157  on จะสั่ง reset ค่า counter เป็น 0 เพื่อเริ่มวงจรใหม่ และจะทำให้ coil Y0 off และทำให้ coil Y1 on
   แทน


 

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

Program PLC พื้นฐาน (timer)


Program P L C คำสั่ง Timer


















                           วงจร P L C timer
   คำสั่ง Timer
  
   คำสั่ง timer เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เป็นคำสั่งประเภทตั้งเวลาหรือหน่วงเวลา
หลักการทำงานของ timer เมื่อหน้าสัมผัส contract ต่อวงจรให้ coil timer ทำงาน timer จะเริ่มนับเวลา
จนกระทั่งถึงค่า K ที่ตั้งไว้ และ coil timer จะ on และ contract NO จะ on เพื่อทำหน้าที่สั่งทำงานตามที่
เรานำไปใช้งาน แต่ contract NC ของ timer จะ off แทนเมื่อ coil timer on (timer จะต้องมีไฟจ่ายให้ตลอด
ถ้าหน้า contract สั่ง coil timer off จะทำให้ coil timer หยุดนับและ reset ใหม่ )


   อธิบายการทำงานวงจร P L C timer

1. เมื่อ contract X0A0 on จะต่อวงจรให้ timer T400 เริ่มนับเวลาถึง 200 ตามค่า K ของ timer T400 โดยมี
contract M400 เป็น inter lock ให้coil timer  T400 ทำงานตลอดเพื่อนับเวลา

2.coil M400 จะทำงานพร้อมกันกับ T400 แต่จะทำหน้าต่อวงจรให้ coil Y12 on  หรือสั่งให้ motor M1 หมุนและทำหน้าที่เป็น inter lock ให้ coil T400 และ coil M400 ตัวของมันเองด้วย

3.เมื่อ T400 นับเวลาถึง K200 ตามเงื่อนไข จะทำให้ contract NC ,T400 off และจะตัดวงจรให้ของ T400
และ M400 ให้หยุดการทำงานและจะส่งผลให้ Y12 หยุดหรือ off ไปด้วย กล่าาวคือ Y12 หรือ motor M1
เมื่อ start โดย X0A0 จะทำงานถึง K200 หรือ motor หมุน 20 วินาที

timer เป็นคำสั่งที่ใช้งานได้หลากหลายแล้วแต่ความต้องการของคุณว่าจะใช้มันยังไง และสุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านที่ทำงานสายช่างขอให้ประสบความสำเร็จในการงานนะครับหรือถ้าท่านผู้อ่านมีข้อแนะนำใด
ก็แสดงความคิดเห็นได้ครับ




วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

program plc (เบื้องต้น)

                               

                                PROGRAM P L C LADDER เบื้องต้น

   การทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมปัจุบันนี้ได้มีการใช้ program P L C ในการควบคุมการ
ทำงานของเครื่องจักรกันอย่างแพร่หลายทั้งนี้เพราะ program P L C มีความสามารถ control เครื่องจักรใน
งานอัตโนมัตได้เป็นอย่างดีและสามารถปรับเปลี่ยน step ขั้นตอนการทำงานได้ง่ายและรวดเร็วและ program
P L C จะเป็นปัจัยหลักในการทำงานในอุตสาหกรรมในอนาคต ดังนั้นบุคคลใดที่เกียวข้องกับสายงานช่าง
technician ทั้ง mechanic และ ช่างไฟฟ้า หรือนักศึกษาในสายช่างควรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้สามารถ
ใช้งาน program p l c ค้นหาปัญหาของเครืองจักรและสามารถแก้ไขปรับเปลี่ยน step การทำงานของเครื่องจักรโดยการแก้ PROGRAM ได้ทั้งนี้ใครที่มีทักษะทาง P L C จะได้เปรียบในการสมัครงานแข่งขันกับผู้อื่นใน
สายงานเดียวกันและเมื่อทำงานจะเรียนรู้ P L C ในโรงงานได้เร็วและโอกาศก้าวและประสบความสำเร็จก็จะมี
มากกว่าคนอื่น


        Program P L C  Ladder1


ในหัวข้อนี้จะเริ่มต้นด้วยสัญลักษ์ contract NO,contract NC ,และ Coil


                                                     รูป 1.1
  TOPICS* จากรูป 1.1
                 
                                X0     คือสัญลักษ์ contract NO
                                X1     คือสัญลักษ์ contract NC
                                Y10   คือสัญลักษ์ coil
                                           



                                                                    วงจร   1

 จากภาพวงจร 1.1 เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานจากคำสั่ง contract และ coil การทำงานของวงจรนี้
เริ่มจาก contract NO ,X131 ON คือสัญญาณ input เช่น photo sensor ,proximity ,หรือสัญญาณ input
อื่นเมื่อ X131 ON จะต่อวงจรให้ coil M209 ทำงานซึ่ง M209 เป็น coil ช่วยใน P L C และเมื่อ M209 ON
จะทำให้ contract NO  M209 ,ON และ contract M209 จะทำหน้าที่ต่อวงจร ให้ coil Y100 (Y100 คืออุปกรณ์ out put เช่น Motor , valve ตัดต่อลม และอื่นๆ) เมื่อ Y100 ทำงานก็จะทำให้ motor หรือ valve ตัดต่อลม ทำงานนั่นเอง
    T16 คือ timer ทำงานพร้อมกันกับ M209 ,T16 จะนับถึง K500  ก็จะทำให้ contract NC T16 ,OFF
และเมื่อ contract NC T16 ,Off  ก็จะทำหน้าที่ตัดวงจร M209 ให้ Off ด้วยเช่นกันและจะทำให้ Y100 ,Off
เหมือนกัน หมายความว่าวงจรนี้ motor Y100 จะหมุนถึง K500 ก็จะหยุดหมุนหรือ motor หมุนแค่ 50 วินาทีก็จะหยุดหมุนจนกว่า X131 จะ ON อีกครั้งจึงจะเริ่มวงจรใหม่
    contract NO ของ M209 คือ inter lock ของ coil M209 จะทำหน้าที่ lock ให้ coil M209 ทำงานค้างตลอดในวงจรนี้ถ้าไม่มี T16 ตัดวงจร M209 จะทำให้ coil M209  on ตลอดจะส่งผลให้ Y100 ทำงานตลอดเช่นกันและจะทำให้ตัวออุปกรณ์ทำงานตลอดหรือ motor หมุนตลอดเวลา









วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

การตั้ง Alignment Pump และ Motor

วิธีตั้ง Alignment motor และ Pump





วิธีตั้ง Alignment Motor และ Pump ด้วย Dial Gauge 0.01 mm.



Dial Gauge 0.01 mm.






การตั้ง Alignment ด้วย Dial Gauge นั้นเราต้องใช้ Dial Gauge ยึดไว้กับ Shaft หรือ เฟือง ของ Pump
ไว้เพื่อเป็นแนว Alignment หลักเพื่อปรับ ศูนย์ Alignment Motor ให้ได้ Alignment เดียวกันกับ Pump
ดังภาพด้านล่าง


เมื่อติด Dial Gauge ที่ เฟือง Pump พร้อมตั้ง Alignment








การตั้ง Alignment ต้องยึดฐานให้แน่นก่อนเพื่อเป็นฐานหลักในการปรับ Alignment Motor ให้ได้
Alignment เดียวกันกับ Pump การตั้ง Alignment จะทำการ check ค่า Dial Gauge สองแนวแกน
แนวตั้งและแนวนอน ซึ่งจะทำการตั้ง Alignment ในแนวแกนตั้งก่อน


การตั้ง Alignment ในแนวแกนตั้ง

การตั้ง Alignment ในแนวแกนตั้งเราจะ Check ค่าแนวแกนด้านบนและด้านล่างมาเปรียบเทียบกันเพื่อนำค่าที่วัดได้ของด้านบนและด้านล่างมาตั้ง Alignment โดยนำค่าแตกต่างของด้านบนและด้านล่างมาหารครึ่งและจึงทำการใส่แผ่น Shim ใต้ฐาน Motor ตามค่าที่หารได้ เช่น วัดค่าด้านบนได้ 0.120 mm. และวัดค่าด้านล่างได้ 0.10 mm.

วิธีคำนวณ

0.120 - 0.10 = 0.020 นำค่า 0.020 หาร 2 =0.010 ค่า 0.010 คือค่าความหนาของแผ่น Shim Motor

ภาพการวัดค่าด้านบนในแนวการตั้ง








วัดค่าด้านล่างในแนวแกนตั้ง








เมื่อใส่แผ่น Shim ฐาน Motor เสร็จแล้วเมื่อ Check ค่า Dial Gauge ด้าน บนด้านล่าง จะมีค่าเท่ากันและต้องอัดฐาน Motor ให้แน่นและ Check ค่า Dial Gauge ด้านล่างว่าโดนกดลงแตกต่างจากตอนที่จากตอนที่ไม่ได้อัด Bolt เท่าไหร่และให้ใส่ Shim เพิ่มอีกเพื่อให้ค่าด้านบนด้านล่างเท่ากันเมื่อทำการอัดฐาน Motor แน่นแล้ว

การตั้ง Alignment ในแนวแกนนอน

การตั้ง Alignment ในแนวแกนนอนนั้นจะทำการวัดค่า Dial Gauge ในแนวนอนทั้งสองข้างตรงกันข้ามกันและนำค่าที่วัดได้มาหาค่าความแตกต่างเหมือนกันกับการตั้ง Alignment ในแนวแกนตั้งแต่การตั้ง Alignment ในแนวแกนนอนจะไม่ใส่ Shim แต่จะขยับเลื่อนฐาน Motor ไปในแนวขวางซ้ายหรือขวาตามค่าที่วัดได้แทน

การวัดค่า Dial Gauge ในแนวนอน





การวัด Dกันข้ามial Gauge แนวนอนตรงกันข้าม
การปรับ Alignment Motor ให้ได้แนวกับ Alignment Pump

เมื่อทราบทิศทางที่จะขยับฐาน Motor จากการคำนวณดังรูปเราจึงต้องขยับไปตามลูกศรสีแดงตามค่า Dial Gauge ที่ 0.010 mm. โดยที่เมื่อขยับฐาน Motor ให้ Check ค่าที่ Dial Gauge


คำนวณ 0.10-0.120=0.020
0.02 หาร 2 =0.010

เคลื่อนฐาน Motor ไปฝั่ง Dial Gauge และสังเกตุค่าที่ Dial Gauge

เมื่อตั้ง Alignment ได้ทั้งสองแนวแกนแล้วเมื่อหมุน Dial Gauge รอบเฟือง Gear  แล้วเข็ม Dial Gauge จะไม่ขยับหรือค่าความคลาดต้องไม่เกิน 0.1 mm.